บันทึกการเรียนครั้งที่ 2
วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559
เนื้อหาการเรียน บทที่ 2
เรื่อง หลักเบื้องต้นในการให้การศึกษา
แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559
เนื้อหาการเรียน บทที่ 2
เรื่อง หลักเบื้องต้นในการให้การศึกษา
แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยถือเป็นนโยบายที่สำคัญประการหนึ่ง
ของการจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน
การให้ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัด
การศึกษาจะช่วยทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครองได้เรียนรู้และเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายที่สำคัญของ
การพัฒนาเด็ก
ทำให้ดำเนินงานทางการศึกษาระหว่างบ้านกับโรงเรียนเป็นไปในทิศทาง
เดียวกัน
เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงาน
ของโรงเรียนและกิจกรรมการเรียนการสอน
อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายทางการศึกษา
ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการศึกษา
ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ความหมายของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
Linda Bierstecker, 1992 กล่าวว่า การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
(parent
education) หมายถึง
การให้ผู้ปกครองได้เข้าใจว่าเด็กได้ทำกิจกรรมอะไร
ที่โรงเรียนอนุบาลหรือศูนย์เด็ก
เพื่อให้ผู้ปกครองได้เข้าใจวิธีการที่จะช่วยเหลือเพื่อส่งเสริม
พัฒนาการและการเรียนรู้
ฉันทนา ภาคบงกช (2531) กล่าวว่า การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง หมายถึง
การให้
ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ
ทั้งทางร่างกาย
อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา
เป็นการทำความเข้าใจและสร้างทัศนคติ
ที่ถูกต้องในการอบรมเลี้ยงดู
ตลอดจนบทบาทหน้าที่ในการร่วมมือกันพัฒนาเด็กโดยใช้
สื่อต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ในการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเด็กสำคัญ
ดังนี้
1. เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติและความต้องการของเด็ก
โดยอาศัยพื้นฐานความรู้
และทฤษฏีเกี่ยวกับจิตวิทยาของเด็ก
2. เพื่อให้สามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ
แก่เด็กได้อย่างถูกต้อง
และสอดคล้องกับทางโรงเรียน
สรุปความหมายของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
สรุปได้ว่า
การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้เกี่ยวกับการอบรม
เลี้ยงดูเด็ก
เพราะเด็กอยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันครอบครัว
การให้ความรู้แก่
ผู้ปกครองถือเป็นกระบวนการทางสังคม ซึ่งสังคมมีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคคล
ภายในสังคมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในสังคม
ทั้งในและนอกระบบ
การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองจึงเป็นการช่วยเหลือพ่อแม่ ผู้ปกครอง
ตลอดจนผู้ที่เตรียมตัว
จะเป็นพ่อแม่ให้ได้เรียนรู้ถึงวิธีการในการดูแล อบรมเลี้ยงดู
และให้การศึกษาแก่เด็ก
เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่า
เพื่อการพัฒนาตนต่อไปในอนาคต
ความสำคัญของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
Verna,
1972 กล่าวว่า การให้ความรู้ผู้ปกครอง
จะช่วยให้ผู้ปกครองเกิดการเรียนรู้
เกี่ยวกับการศึกษาซึ่งกันและกัน อันจะช่วยลดปัญหาความขัดแย้งต่อกัน
ที่อาจเป็นสาเหตุ
ทำให้เด็กเกิดความสับสน
อรุณี หรดาล (2536) กล่าวว่า
การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมี
ความสำคัญดังนี้
1.
ช่วยให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก
2.
ช่วยให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการอบรมเลี้ยงดู
3.
ช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงผลของการกระทำของตนเองที่จะมีต่อเด็ก
อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเอง
4. ช่วยให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย
5.
ช่วยให้ผู้ปกครองมีความรู้และฝึกทักษะ
เทคนิคและวิธีการจัดสภาพแวดล้อม
ภายในบ้านที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้
ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง
6.
ช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
ในการจัดการศึกษาปฐมวัย
และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูและผู้ปกครอง
ซึ่งจะมีผลดีต่อตัวเด็กโดยตรง
สรุปความสำคัญของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเป็นสิ่งสำคัญที่มีต่อการศึกษาเด็กปฐมวัย
สรุปได้ดังนี้
1.
เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก
2.
เป็นการให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่มีต่อ
การศึกษาของเด็ก
3.
ทำให้ลดความขัดแย้งในการดำเนินงานทางการศึกษา
ช่วยให้การศึกษา
เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
4.
เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของเด็ก
5.
ช่วยทำให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแรง
วัตถุประสงค์ในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองโดยสรุปมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1.
เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการในการอบรมเลี้ยงดูเด็กและให้การศึกษาแก่เด็ก
2.
เพื่อให้ความรู้และวิธีการในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่เด็ก
3.
เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการศึกษาของเด็กที่โรงเรียนเพื่อให้ที่บ้าน
เข้าใจตรงกัน
4.
เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงบทบาทของตนเองในการมีส่วนร่วม
ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลาน
5.
เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับรู้และเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรหลาน
รูปแบบในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
การจัดการศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษา
การให้ความรู้ผู้ปกครอง จึงมีความสำคัญที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ดำเนินงาน
เพื่อจัดรูปแบบในการให้ความรู้เพื่อเข้าถึงเป้าหมาย
รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครอง
สามารถกระทำได้ด้วยวิธีการดังนี้
-
การให้ความรู้แบบทางการ (formal) เช่น
การบรรยาย การอภิปราย
การโต้วาที ฯลฯ
-
การให้ความรู้แบบไม่เป็นทางการ (informal) เช่น การระดมสมอง
การประชุมโต๊ะกลม
การประชุมกลุ่มย่อย
รูปแบบในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
อรุณี หรดาล (2536) ได้เสนอรูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองที่เหมาะสม
กับสังคมไทย
ควรมีลักษณะผสมผสานระหว่างรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเนื้อหาความรู้ และขนาดของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งมีอยู่ 5 ลักษณะ ดังนี้
1. เป็นรายบุคคล
การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเป็นรายบุคคล ส่วนมากจะจัดแบบ
ไม่เป็นทางการ เช่น
การเยี่ยมบ้าน การสนทนาซักถาม ฯลฯ
2. กลุ่มขนาดเล็ก
รูปแบบการให้ความรู้ในกลุ่มเล็ก ส่วนมากจะจัดแบบ
ไม่เป็นทางการ เช่น การพบปะสนทนา
การประชุมกลุ่มย่อย การประชุมโต๊ะกลม
การระดมสมอง ฯลฯ
3.
กลุ่มขนาดใหญ่
อาจจัดได้หลายรูปแบบทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
เช่น การบรรยาย การอภิปราย
การประชุมเชิงปฏิบัติการ
4. ระดับชุมชน
เช่น การบรรยาย การปาฐกถาหมู่ การโต้วาที การอภิปรายกลุ่ม
การสนทนา ฯลฯ
5.
ระดับมวลชน
เช่น วิทยุ เทปเสียง วีดีทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์
ฉันทนา ภาคบงกช (2531)
ได้แบ่งรูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองแบบ
ผสมผสานเพื่อให้เหมาะสมกับสังคมไทยเป็น
4 ระดับ ดังนี้
1.
ระดับห้องเรียน
2.
ระดับโรงเรียน
3.
ระดับชุมชน
4.
ระดับมวลชน
แนวทางการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
ฉันทนา ภาคบงกช (2531) ได้เสนอแนวทางในการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไว้ดังนี้
1.
สำรวจความสนใจ
ความต้องการ รวมทั้งปัญหาต่างๆ ในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก
โดยการสัมภาษณ์หรือใช้แบบสอบถาม
2.
จัดบริการต่างๆ
เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ผู้ปกครอง เช่น
-
เชิญวิทยากรมาบรรยาย อภิปราย สาธิต
-
จัดห้องสมุดและศูนย์ของเล่นสำหรับเด็ก
-
จัดศูนย์แนะแนวผู้ปกครองเพื่อให้คำแนะนำ
-
จัดตั้งชมรมหรือสมาคมผู้ปกครอง
แนวทางการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
Linda Bierstecker, 1992 ได้เสนอแนวทางในการเตรียมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง
ไว้ดังนี้
การมีส่วนร่วมของสังคมเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
บทบาทของผู้ปกครองในการร่วมกิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง
อรุณี หรดาล (2536) ได้กล่าวถึงบทบาทของผู้ปกครองไว้ ดังนี้
แนวปฏิบัติของสถานศึกษา
ในการจัดกิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง
สถานศึกษาถือเป็นส่วนหนึ่งที่
จะทำให้ผู้ปกครองได้ประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
ดังนั้นสถานศึกษาควรมีแนวปฏิบัติดังนี้
1.
รับฟังความคิดเห็นและความรู้สึกที่ผู้ปกครองมีกับลูก
2.
ขณะที่พูดคุยกับผู้ปกครองเด็ก
ไม่ใช้เป็นการพูดถึงเด็กในทางที่ไม่ดีเท่านั้น
แต่ควรพูดถึงในสิ่งที่ดีที่เด็กสามารถพัฒนาขึ้นมาก
3.
ควรหลีกเลี่ยงคำอธิบายหรือใช้คำศัพท์ทางวิชาการในการอธิบายพูดคุย
กับพ่อแม่
ผู้ปกครอง
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การเรียนในวันนี้ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันและในอนาคตได้
โดยการนำความรู้เรื่อง หลักเบื้องต้นในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
ไปใช้ให้ถูกต้องตามหลักการเรียนการสอน
การประเมิน
- ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย
- ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียน น่ารัก
- ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา เตรียมเนื้อหาการสอนมาได้ครบถ้วน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น